การเขียนแบบคืออะไร? สรุปพื้นฐานการเขียนแบบเบื้องต้นที่ควรรู้สำหรับมือใหม่

Posted by Mathiphic on May 01,2025

ความหมายของการเขียนแบบเบื้องต้น คืออะไร? พร้อมอธิบายแบบเข้าใจง่าย

  1. การเขียนแบบคืออะไร? ความหมายของการเขียนแบบ 

    การเขียนแบบ (Technical Drawing หรือ Drafting) คือการถ่ายทอดแนวคิดของงานก่อสร้างหรือผลิตชิ้นงานต่าง ๆ ออกมาเป็นภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เพื่อให้คนอื่นเข้าใจตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นช่าง วิศวกร หรือผู้ออกแบบ

    โดยจะเน้น “ความถูกต้อง”, “ความชัดเจน” และ “ความเข้าใจร่วมกัน” เพื่อใช้ในการผลิตจริง หรือสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ

  2. ส่วนประกอบของการเขียนแบบเบื้องต้น 
      1. เส้น (Lines)  เส้นหนา เส้นบาง เส้นปะ ใช้แทนรูปร่างและขอบเขตของชิ้นงาน
      2. ตัวอักษร (Lettering) ใช้ในการเขียนคำอธิบาย ขนาด และชื่อชิ้นงาน
      3. สัญลักษณ์ (Symbols) ใช้แทนฟังก์ชันหรือส่วนต่าง ๆ เช่น วาล์ว สายไฟ ฯลฯ
      4. มิติ (Dimensions): มีการระบุขนาด เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง และเส้นผ่านศูนย์กลาง
      5. มาตราส่วน (Scale): มีการกำหนดขนาดจริงของชิ้นงาน เพื่อย่อหรือขยายขนาดจริง มาแสดงบนกระดาษ
      6. กรอบกระดาษและตารางชื่อ (Drawing Frame, Title Box) บอกชื่อผู้ออกแบบ วันที่ และรายละเอียดอื่น ๆ
      7. มุมมอง (Views) มุมมองด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน
      8. ภาพฉาย (Projection) การแสดงภาพชิ้นงานจากหลายมุม เพื่อให้เห็นรายละเอียดครบ
  3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบเบื้องต้น
    1. ไม้ที
    2. ไม้บรรทัด
    3. ฉากสามเหลี่ยม
    4. ครึ่งวงกลม
    5. วงเวียน
    6. ดินสอและยางลบ
  4. ประเภทของการเขียนแบบ (แบ่งตามงาน)
    ประเภทของการเขียนแบบ สามารถแบ่งได้หลากหลายประเภท ขึ้นอยูกับวัตถุประสงค์และลักษณะของงานที่ต้องการนำเสนอ โดยสามารถจำแนกออกเป็นหมวดหมู่หลักๆ ได้ดังนี้
    1. การเขียนแบบทางเครื่องกล (Mechanical Drawing) เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักร, เฟือง
    2. การเขียนแบบทางไฟฟ้า (Electrical Drawing) เช่น ผังวงจรไฟฟ้า
    3. การเขียนแบบทางโยธา/สถาปัตยกรรม (Civil/Architectural Drawing) เช่น แผนผังอาคารและสิ่งก่อสร้าง
  5. ลักษณะของการเขียนแบบ (แบ่งตามมุมมอง)
    การเขียนแบบสามารถแบ่งตามลักษณะการมองได้ 4 ประเภทหลัก ดังนี้
    1. Perspective Drawing: ภาพ 3 มิติแบบที่ตามองเห็นจริง
      เป็นภาพที่คล้ายภาพจริงมากที่สุด หรือคล้ายกับภาพจริงที่ตามองเห็นมากที่สุด โดยสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจะมีขนาดใหญ่ และจะมีขนาดเล็กลงเมื่อไกลออกไป
    2. Isometric Drawing: ภาพสามมิติที่มีมุมเอียง 30 องศา
      การสร้างภาพ Isometric จะใช้ความยาวจริงของวัตถุ เช่น ความกว้าง ความลึก และความสูง โดยโครงร่างเริ่มต้น จะประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ เส้นเอียง 30 องศา 2 เส้น และเส้นฉาก 1 เส้น
    3. Oblique Drawing: ภาพที่ด้านหนึ่งเป็นขนาดจริง อีกด้านลดครึ่ง
      การสร้างภาพ Oblique จะใช้ความความกว้าง และความสูงจริงของวัตถุ แต่ความลูกจะมีขนาดครึ่งหนึ่งของขนาดจริง โดยโครงร่างเริ่มต้น จะประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ เส้นแนวนอน 180 องศา 1 เส้น, เส้นเอียง 45 องศา 1 เส้น และเส้นฉาก 1 เส้น
    4. Dimetric Drawing: คล้าย Isometric แต่มุมไม่เท่ากัน ให้ความลึกที่ต่างออกไป
      การสร้างภาพ Dimetric จะใช้ความความกว้าง และความสูงจริงของวัตถุ แต่ความลูกจะมีขนาดครึ่งหนึ่งของขนาดจริง โดยโครงร่างเริ่มต้น จะประกอบด้วยเส้น 3 เส้น คือ เส้นเอียง 7 องศา 1 เส้น, เส้นเอียง 42 องศา 1 เส้น และเส้นฉาก 1 เส้น

สนใจเรียนคอร์สเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้น
ติดต่อเพจ Eduverse จักรวาลแห่งการเรียนรู้
"แพลตฟอร์มการเรียนรู้นอกหลักสูตร" 
เรียนจบมีผลงานใส่พอร์ตฟอลิโอ และได้รับเกียรติบัตรซึ่งรับรองโดย สำนักงานพัฒนาและประเมินศักยภาพด้านวิชาชีพ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line ID: @mathiphic 
https://lin.ee/ZAkbk9z


แนะนำ

บทความใหม่

การเขียนแบบเบื้องต้นคือการถ่ายทอดแนวคิดของชิ้นงานเป็นภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เพื่อใช้ในการผลิตหรือก่อสร้าง โดยเน้นความถูกต้อง ชัดเจน และเข้าใจตรงกัน

ภาษา JavaScript มีการทำงานแบบ Asynchronous คือเวลาที่เราสั่งงานอะไรไป ถ้าเป็นงานที่ใช้เวลานาน ก็จะทำคำสั่งถัดไปเลยโดยไม่รอให้คำสั่งก่อนหน้าทำเสร็จ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในหลายกรณี